Skip to content
Translated by
Google
Translate

ผศ.ดร.เฉลิมพล กาญจนวรินทร์

fscicpk@ku.ac.th

โทร 02-5625555 Ext647326

ห้อง: 473 Phys Sci Bldg, 4th Flr.

ประวัติส่วนตัว

การศึกษาและประสบการณ์การทำงาน

  • 2560-ปัจจุบัน ภาคีสมาชิกของสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีนานาชาติ อับดุล ซาลาม (Abdus Salam international centre for theoretical physics, ICTP), เมืองเทรียส, ประเทศอิตาลี
  • 2558-ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 2550-ปัจจุบัน อาจารย์ฝ่ายวิชาบูรณาการ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
  • 2548-ปัจจุบัน อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 2542-2548 ปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์  ทางด้านชีวฟิสิกส์เชิงทฤษฎีและเชิงคำนวณ กับ Prof. Klaus Schulten  จากมหาวิทยาลัยอิลลินอย วิทยาเขตเออบานา-แชมเปน ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • 2538-2542 ปริญญาตรีควบโท (เกียรตินิยม) สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

รางวัลและผลงาน

  • 2560-2565 ภาคีสมาชิกรุ่นกลาง (Regular associate) ของสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีนานาชาติ อับดุล ซาลาม ( Abdus Salam international centre for theoretical physics, ICTP), เมืองเทรียส (Trieste), ประเทศอิตาลี (Italy)
  • 2557-2558 อาจารย์ผู้สอนฟิสิกส์ดีเด่น  (ลงคะแนนโดยนิสิตภาคฟิสิกส์ชั้นปีที่สี่)
  • 2534-2548 รับทุนการศึกษาจากโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) โดยได้รับทุนศึกษาต่อต่างประเทศระดับปริญญาตรี โท และเอก ตั้งแต่ปี 2537
  • 2537 เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับนานาชาติ ณ ประเทศจีน

งานวิจัย ผลงานวิจัยตีพิมพ์ และหนังสือ

ผมมีความสนใจทำงานวิจัยเชิงชีวฟิสิกส์เพื่อศึกษากลไกเชิงฟิสิกส์ระดับนาโนของโมเลกุลทางชีวภาพ ผมมีความเชื่อว่าอนาคตของฟิสิกส์ระดับนาโนและนาโนเทคโนโลยีนั้นซ่อนอยู่ในความเข้าใจชีววิทยาระดับโมเลกุล ผมรู้สึกทึ่งกับการที่ได้เห็นว่าโมเลกุลทางชีวภาพมีความสามารถที่จะควบคุมการเคลื่อนที่อะตอมและโมเลกุลได้อย่างเหลือเชื่อ ดังนั้นผมจึงพยายามที่จะทำความเข้าใจว่าโมเลกุลเหล่านี้ทำอย่างนั้นได้อย่างไร ผมพบว่าการศึกษาระบบโมเลกุลเหล่านี้ด้วยฟิสิกส์และคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้เราเข้าใจโมเลกุลเหล่านี้ ปัจจุบันผมกำลังทำงานวิจัยในหัวข้อต่อไปนี้

  • กลไกการนำไฟฟ้าและการฆ่าเซลล์เม็ดเลือดขาวของโปรตีนสารพิษก่อโรคไอกรน CyaA จากแบคทีเรีย Bordetella Pertussis
  • กลไกการฆ่าลูกน้ำยุงโดยการทำให้เกิดรูรั่วนาโนของโปรตีน Cry4Aa toxin จากแบคทีเรีย Bacillus Thuringiensis
  • กลไกการจับโมเลกุลไขมันที่มีประจุของโปรตีน Annexin A5 ด้วยไอออนแคลเซียม
  • กลไกการหมุนของชีวนาโนมอร์เตอร์แบบหมุนของโปรตีน ATP synthase
  • กลไกการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของน้ำรอบๆโปรตีนและ membrane

ห้องวิจัยของเราตั้งอยู่ที่ห้อง 451, ชั้น 4, ตึกวิทยาศาสตร์กายภาพ (วิทย์ 45 ปี) เราแชร์พื้นที่ห้องวิจัยกับกลุ่มวิจัยฟิสิกส์ของวัสดุเชิงคำนวณ

ผลงานวิจัยตีพิมพ์และหนังสือ

2022

2017

2015

2014

2013

  • Srikongrug, S, and Kanchanawarin C.  (2013)  The study of structure and dynamics of water molecules around phospholipid bilayer using molecular dynamics methods. Siam Physics Congress 2013 Proceedings.

2010

งานสอนและงานในภาควิชาฟิสิกส์

ผมชอบสอนหนังสือและสนุกกับมัน ผมมีความสนใจในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการสอนฟิสิกส์เสมอมา โดยตั้งแต่ปี 2548 ผมสอนวิชาเหล่านี้

วิชาป.ตรี

  • 01420112 General Physics 2
  • 01420114 General Physics 2 Lab
  • 01420221 Modern Physics
  • 01420222 Modern Physics Lab
  • 01420425 Particle Physics
  • 01420482 Biophysics 1
  • 01420483 Biophysics 2
  • 01420412 Atomic Scale Simulations
  • 01420332 Statistical Mechanics
  • 01420497 Undergrad Seminar
  • 01420498 Special Problems
  • 01999212 Concepts of Science and Philosophy

วิชาป.โท และป.เอก

  • 01420511 Methods in Theoretical Physics I
  • 01420522 Molecular Quantum Mechanics
  • 01420532 Statistical Physics II
  • 01420597 Graduate Seminar (Master)
  • 01420598 Special Problems
  • 01420697 Graduate Seminar (Ph.D.)

งานในภาควิชาฟิสิกส์

  • อาจารย์ผู้ดูแลหล้กสูตรฟิสิกส์ ป.โท และ ป.เอก (2555-2558)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในด้านงานวิจัยกรุณาดูที่ My Research Group Page