Skip to content

วิสัยทัศน์

106 Views อัพเดทเมื่อ 14 Nov 2567 โดย sciku-admin
ปรัชญา

คณะวิทยาศาสตร์ มีปณิธานมุ่งมั่นในการปฏิบัติ ภารกิจ ให้เป็นไปตาม ปรัชญาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเป็นสถาบันที่มีปณิธานที่มุ่งมั่นในการสั่งสมเสาะแสวงหา และ วัฒนาความรู้ให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญา ที่เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรม และคุณธรรม ตลอดจนเป็นผู้ชี้นำทิศทางสืบทอดเจตนารมณ์ที่ดีทางสังคม เพื่อความคงอยู่ ความเจริญ และความเป็นอารยะของชาติ โดยการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งกอรปด้วยจริยธรรมและคุณธรรม รวมทั้งการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีการค้นคว้าวิจัยทางด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาทางการเรียนการสอน ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รอบรู้กว้างทันต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามโอกาสที่เหมาะสม พร้อมกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ปณิธาน

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีความคิด มีจิตสำนึกในคุณธรรมจริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่สร้างสรรค์ รู้จักปรับตัว และพัฒนาตนให้เข้ากับสังคมโลก ธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และยึดมั่นในหลัก “คุณธรรมนำเทคโนโลยี”

วิสัยทัศน์ (vision)

วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน

“เป็นเลิศด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในระดับอาเซียน”

“Excellence in Research and Innovation for sustainable development in ASEAN”

บทบาท (Role) Why exist

เป็นแหล่งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม ค้นคว้าวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมผ่านการวิจัยและบริการวิชาการ

ค่านิยมองค์กร (Core Value) คือ SCiKU
ภารกิจ (mission) ของหน่วยงานพันธกิจ

ผลิตบัณฑิตที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ยึดมั่นในคุณธรรม สร้างสรรค์งานวิจัยที่เป็นเลิศ เพื่อการพัฒนาชาติและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนผ่านการบริการวิชาการ

วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน (Organizational objectives)
  1. ยกระดับคุณภาพงานวิจัย บูรณาการและต่อยอดงานวิจัยสู่นวัตกรรม เพื่อความเป็นเลิศในระดับอาเซียนและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจตามนโยบายพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  2. พัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
  3. ผลิตบัณฑิตมีสมรรถนะสูงที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  4. ให้บริการวิชาการสังคม/ชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนในสังคมและชุมชน และสร้างรายได้ให้คณะ
  5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กร พัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน
    • ส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนงานและสร้างนวัตกรรมในการทำงาน
    • บริหารความร่วมมือภาคีเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร
    • เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก และสร้าง Branding
    • จัดระบบสารสนเทศและฐานข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและการตัดสินใจ
    • เพิ่มพูนทักษะและศักยภาพของบุคลากร จัดการองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศ
    • สร้างความผูกพันในองค์กร สร้างธรรมาภิบาล ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
    • สร้างความมั่นคงทางการเงิน บริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มรายได้ที่นอกเหนือจากค่าหน่วยกิต


ยุทธศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1

สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับนานาชาติ ผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงที่มีทักษะแห่งอนาคต

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 1.1 บัณฑิตสมรรถนะสูง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและระดับนานาชาติภายใต้แนวทางเศรษฐกิจ BCG และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs

  • กลยุทธ์ที่ 1.1.1 พัฒนาศักยภาพนิสิตเพื่อความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างและส่งเสริมทักษะแห่งอนาคต เพื่อให้บัณฑิตเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
  • กลยุทธ์ที่ 1.1.2 พัฒนาและส่งเสริมให้นิสิตของคณะมีทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น
  • กลยุทธ์ที่ 1.1.3 พัฒนาและส่งเสริมให้นิสิตของคณะมีความเป็นนวัตกรและการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี
  • กลยุทธ์ที่ 1.1.4 พัฒนาให้นิสิตมีภูมิคุ้มกันต่อสภาวะวิกฤติ

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 1.2 หลักสูตรแบบ degree/non-degree ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงของประเทศและสากล เพื่อการ reskill, upskill และ life-long learning 

  • กลยุทธ์ที่ 1.2.1 พัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง
  • กลยุทธ์ที่ 1.2.2 ยกระดับขีดความสามารถของบุคลากร ในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานิสิตที่มีทักษะแห่งอนาคต
  • กลยุทธ์ที่ 1.2.3 ส่งเสริมบูรณาการชุดวิชาสร้างหลักสูตรแบบ non-degree เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • กลยุทธ์ที่ 1.2.4 เพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพ หรือ ยกระดับคุณภาพชีวิตของศิษย์เก่าและผู้สนใจ โดยมีความร่วมมือกับศิษย์เก่าและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 1.3 หลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ

  • กลยุทธ์ที่ 1.3.1 ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 1.4 หลักสูตรแบบการบูรณาการข้ามศาสตร์ (Interdisciplinary)

  • กลยุทธ์ที่ 1.4.1 สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดหลักสูตรแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ (Interdisciplinary) ตามความต้องการของผู้เรียน

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 1.5 จำนวนนิสิตต่างชาติ และจำนวนนิสิตแลกเปลี่ยนทั้ง inbound และ outbound เพิ่มขึ้น 100% ภายในปี 2569

  • กลยุทธ์ที่ 1.5.1 สร้างและบริหารเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา ภาคอุตสาหกรรมและองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐทั้งในและต่างประเทศ
  • กลยุทธ์ที่ 1.5.2 สร้างระบบเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพในการแสวงหาและเพิ่มอัตราการคงอยู่ของนิสิตในทุกระดับทั้งภายในประเทศและนานาชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 2

บูรณาการการวิจัย สร้างความเข้มแข็งการพัฒนาประเทศด้วยงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน และสร้างความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 2.1 กลุ่มเครือข่ายวิจัยบูรณาการที่มีศักยภาพสูงสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และแนวทางเศรษฐกิจ BCG ด้านเกษตรและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ วัสดุชีวภัณฑ์ สารสกัดธรรมชาติ วัคซีนสัตว์น้ำ เซนเซอร์ AI, SynBio และ climate change

  • กลยุทธ์ที่ 2.1.1 ส่งเสริมการวิจัยแบบมุ่งเป้า โดยเน้นการบูรณาการข้ามศาสตร์
  • กลยุทธ์ที่ 2.1.2 พัฒนาศักยภาพนักวิจัย สร้างกลุ่มเครือข่ายวิจัยบูรณาการที่มีศักยภาพสูง เพิ่มประสิทธิภาพและทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย
  • กลยุทธ์ที่ 2.1.3 แสวงหาคู่ความร่วมมือใหม่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งระดับชาติและนานาชาติ บริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 2.2 ผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบสูง ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเชิงลึก หรือนำไปสู่การแก้ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

  • กลยุทธ์ที่ 2.2.1 สร้างผลงานวิจัยระดับแนวหน้า (Global/Frontier Research) และนวัตกรรม โดยความร่วมมือของภาคสังคม/ชุมชน/คู่ความร่วมมือ
  • กลยุทธ์ที่ 2.2.2 ประเมินศักยภาพและจัดกลุ่มโครงการ/ผลงานวิจัย เพื่อผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดการใช้ประโยชน์ให้กับสังคมในเชิงพาณิชย์ ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเชิงลึก

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 2.3 งานวิจัยหรือนักวิจัยหรือกลุ่มวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

  • กลยุทธ์ที่ 2.3.1 ส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติ ให้ได้ค่าเฉลี่ย 2.4 ผลงานต่อคนต่อปี
  • กลยุทธ์ที่ 2.3.2 ส่งเสริมนักวิจัยให้ขอทุนวิจัยระดับนานาชาติ
  • กลยุทธ์ที่ 2.3.3 ส่งเสริมให้นักวิจัยตีพิมพ์ผลงานในวารสารในระดับ Top 5

ยุทธศาสตร์ที่ 3 

ผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม บูรณาการกับคู่ความร่วมมือผ่านการวิจัยและบริการวิชาการ

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 3.1 มีการบริหารจัดการงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา นวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์

  • กลยุทธ์ที่ 3.1.1 จัดตั้งหน่วยบริหารจัดการงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา (RDI Manager) ของคณะวิทยาศาสตร์
  • กลยุทธ์ที่ 3.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรให้มีการนำงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อบริการวิชาการ พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือต่อยอดในเชิงพาณิชย์

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 3.2 มีการจัดตั้ง Business Unit ที่สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน (ESG: Environment, Social และ Governance)

  • กลยุทธ์ที่ 3.2.2 ส่งเสริมการจัดตั้ง Business Unit ดำเนินการภายใต้ Holding Company

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 3.3 เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และการบริการวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติ

  • กลยุทธ์ที่ 3.3.1 แสวงหาคู่ความร่วมมือใหม่  เพื่อสร้างเครือข่ายด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง
  • กลยุทธ์ที่ 3.3.2 พัฒนาอัตลักษณ์ (Branding) ของการนำผลงานวิจัยและการบริการวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์ไปสู่การใช้ประโยชน์
  • กลยุทธ์ที่ 3.3.3 ส่งเสริมให้เครือข่ายหน่วยงานคู่ความร่วมมือมีเทคโนโลยี และ/หรือ บุคลากรที่มีทักษะตรงตามความต้องการของหน่วยงาน

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 3.4 มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยที่ได้มาตรฐานเพื่อรองรับการบริการวิชาการให้กับภาคเอกชน 

  • กลยุทธ์ที่ 3.4.1 จัดตั้งหน่วยบริการเฉพาะทางที่ได้มาตรฐาน

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 3.5 เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการพัฒนาและบริหารจัดการ เพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และแนวทางเศรษฐกิจ BCG ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  • กลยุทธ์ที่ 3.5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรในการให้บริการวิชาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองของชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์ที่ 4

บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล สร้างความผูกพันต่อองค์กร

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 4.1 มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีการ บูรณาการระหว่างงานภายในองค์กร

  • กลยุทธ์ที่ 4.1.1 ระดมความคิดเห็น วางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับงานบริหารจัดการ ให้ครอบคลุมทุกภารกิจ พร้อมทั้งสามารถบูรณาการข้อมูลระหว่างแต่ละงานในสำนักงานเลขนุการคณะและสำนักงานภาควิชา
  • กลยุทธ์ที่ 4.1.2 มี SOP ของทุกหน่วยงานที่ชัดเจน
  • กลยุทธ์ที่ 4.1.3 ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • กลยุทธ์ที่ 4.1.4 มีระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารที่ถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว
  • กลยุทธ์ที่ 4.1.5 จัดการองค์ความรู้ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนงาน เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมในการทำงาน

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 4.2 ความโปร่งใสและยั่งยืนด้านการบริหารงานการเงิน

  • กลยุทธ์ที่ 4.2.1 การพัฒนาระบบตรวจสอบและติดตามการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 4.3 การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้าง engagement ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

  • กลยุทธ์ที่ 4.3.1 พัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์เชิงรุก การสื่อสารองค์กรเพื่อส่งเสริมการสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทั้งภายในและภายนอกคณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของคณะวิทยาศาสตร์
  • กลยุทธ์ที่ 4.3.2 มีกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 4.4 บุคลากรภายในองค์กร นิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความผูกพันต่อคณะวิทยาศาสตร์และให้การสนับสนุนพันธกิจของคณะ

  • กลยุทธ์ที่ 4.4.1 สร้างสภาพแวดล้อมภายในคณะวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมต่อการทำงานของบุคลากร นิสิต และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกิดบรรยากาศที่ดี และมีความสุขในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
  • กลยุทธ์ที่ 4.4.2 สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้บริหาร บุคลากร นิสิต นิสิตเก่า โดยการสร้างความชัดเจนในนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองให้เกิดขึ้น

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 4.5 สนับสนุนการบริหารและดำเนินการขององค์กรด้วยแนวทาง Carbon Net Zero

  • กลยุทธ์ที่ 4.5.1 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ผลิตไฟฟ้าใช้เองจากพลังงานหมุนเวียน และการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้คุ้มค่า ลดภาระการใช้คาร์บอน หรือปล่อยคาร์บอนในวงจรที่เกี่ยวข้องจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งจากภายในคณะ หรือภายนอกคณะที่เกี่ยวข้อง
  • กลยุทธ์ที่ 4.5.2 สร้างระบบการบริหารจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ทุกประเภท

เป้าหมายยุทธศาสตร์ 4.6 มีโครงสร้างพื้นฐานในการทำงานที่เหมาะสมและปลอดภัยภายในองค์กร

  • กลยุทธ์ที่ 4.6.1 บริหารจัดการอาคารสถานที่ ระบบสาธารณูปโภค ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ให้มีความปลอดภัย มีความพร้อมและเพียงพอต่อการใช้งานของบุคลากร นิสิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยระบบเฝ้าระวังที่สามารถตรวจสอบประเมินศักยภาพได้
  • กลยุทธ์ที่ 4.6.2 ส่งเสริมให้ห้องปฏิบัติการผ่านมาตรฐานความปลอดภัย (Peer evaluation โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  • กลยุทธ์ที่ 4.6.3 สร้างความตระหนักในการทำงานที่เหมาะสมและปลอดภัยของบุคลากร นิสิต และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย